|
กังหันน้ำชัยพัฒนา
จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลง เกิดเป็นภาวะมลพิษ อันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มี อัตราและปริมาณสูงขึ้น
จนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทา เบาบาง และกลับมีแนวโน้ม รุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงพระราชทานพระราชดำริให้ ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ แบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ |
|
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติแบบบ่อผึ่ง
หรือบ่อตกตะกอน และระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย
"...ปัญหาสำคัญคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนัก
ในทางเทคโนโลยีทำได้ และในเมืองไทยเองก็ทำได้... ทำได้ แต่ที่ที่ทำนั้น ต้องมีที่สัก 5,000 ไร่...
ขอให้ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาช่วย ร่วมกันทำ ทำได้แน่..." (พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) |
|
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง
(Dilution)
หลักการบำบัดน้ำเสีย โดยการทำให้เจือจาง (Dilution) ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมา จากพระราชดำริ
"น้ำดีไล่น้ำเสีย" โดยใช้หลักการตามธรรมชาติ แห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow)
การใช้น้ำคุณภาพดี มาช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสีย หรือที่เรียกกันว่า "น้ำดี ไล่น้ำเสีย" นั้น
ได้แก่การใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไป และช่วยให้น้ำ เน่าเสีย มีสภาพเจือจางลง |
|
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration)
หลักการบำบัดน้ำเสีย โดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration) ตามแนวทฤษฎี การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
"บึงมักกะสัน" โดยให้มีการทดลองใช้ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ต้องการกำจัดอยู่แล้วนี้
มาทำหน้าที่ดูดซับความโสโครก รวมทั้งสารพิษจาก น้ำเน่าเสีย โดยทรงเน้นให้ ทำการปรับปรุงอย่างประหยัด
และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมบึง
|
|
ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่าพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ทำโครงการบำบัดน้ำเสีย
โดย วิธีธรรมชาติ ผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัด กล่าวคือ จัดสร้างบ่อดักสารแขวนลอย
ปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อใช้ดับกลิ่น และปลูกผักตบชวาเพื่อดูดสิ่งโสโครกและโลหะหนัก จากนั้น
ใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา และแผงท่อเติมอากาศให้กับน้ำเสียตามความเหมาะสม |
|
ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีววิทยา ผสมผสานกับเครื่องกลเติมอากาศแบบ "สระเติมอากาศชีวภาพบำบัด"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริว่า "การใช้วิธีการทางธรรมชาติ
แต่เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอในการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศลง ไปในน้ำ
โดยทำเป็นระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)" |
|
ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี (Physical-Chemical) ด้วยการทำให้ตกตะกอน (Presipitation)
ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสีย โดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี (Physical - Chemical Process) ด้วยการทำให้ตกตะกอน
(Presipitation) ตามพระราชดำริ "สารเร่ง ตกตะกอน PAC" (Poly Aluminum Chloride) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานชื่อ Model ของเครื่องบำบัดน้ำเสีย ที่ใช้เทคนิคนี้ว่า "TRX-1" |
|
"งานผังเมือง" ส่วนหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในงานด้านระบบผังเมือง
ดังจะเห็นได้จาก การที่พระองค์ทรงนำแผนที่มาใช้ในการวางแผนการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ หรือใช้สนับสนุนแนวพระราชดำริ ที่ได้พระราชทาน ให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปฏิบัติ |
|
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในงานด้านผังเมือง
การนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชนิดต่างๆ เข้ามาใช้ในงานสำรวจ
เพื่อพัฒนาการวางระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การทำงานทางด้านผังเมือง
ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาทัดเทียมกับอารยะประเทศ |
|
บทความวิชาการในงานด้านผังเมือง
รวบรวมบทความทางวิชาการ ที่เกี่ยวกับงานด้านผังเมือง จากวารสารข่าวสารกรมการผังเมือง เอกสารประกอบการสัมมนา
และการฝึกอบรมด้านการผังเมือง ของกรมการผังเมือง |